กองทุนคุ้มครองเด็ก
กองทุนคุ้มครองเด็ก จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นทุนใช้จ่ายในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและ ครอบครัวอุปถัมภ์ของเด็กโดยมีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร/จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ บริหารกองทุนคุ้มครองเด็กในจังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบประกาศและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาและอนุมัติจ่ายเงินเพื่อการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัว ครอบครัวอุปถัมภ์ของเด็กในกรณีคำขอเป็นรายบุคคล และคำสั่งศาลซึ่งเป็นไปตามระเบียบ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วย การบริหารกองทุน การพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน และรายงาน สถานะการเงิน และการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2548 รวมทั้งพิจารณและอนุมัติจ่ายเงินเพื่อสนับสนุน โครงการของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนที่ขอรับเงินสนับสนุนไม่เกินโครงการละ150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ทั้งนี้เป็นไปตามมติคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 เห็นชอบให้ขยายกรอบวงเงินโครงการเพิ่ม จากเดิมจังหวัดละ 200,000 บาท เป็นจังหวัดละ 300,000 บาท โดยกำหนดให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการระดับจังหวัด มีอ านาจกลั่นกรอโครงการไม่เกินโครงการละ 150,000 บาท และพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการที่ได้รับการอนุมัติ จากกองทุนคุ้มครองเด็กแล้ว รวมทั้งรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กในจังหวัดให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร/จังหวัดและคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กเพื่อทราบหรือพิจารณาในทุกสองเดือน
กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน
1. บุคคลเป้าหมาย แบ่งได้ดังนี้
1.1 เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
ด้วยการสมรส ประกอบด้วย
ก. เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ (มาตรา 32) ได้แก่
1) เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า
2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุผลใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิต หรือโรคประสาท
4) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
5) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรมหรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสีย ในทางศีลธรรมอันดี หรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
6) เด็กพิการ
7) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข. เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา 40) ได้แก่
1) เด็กที่ถูกทารุณกรรม
2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
3) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
ค. นักเรียน นักศึกษาที่พึงได้รับการส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม
1.2 ครอบครัว หรือครอบครัวอุปถัมภ์ หมายถึง ผู้ซึ่งให้การอุปการะเลี้ยงดูเด็กที่ประสบ
ปัญหาความเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่ายในการสงเคราะห์และหรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก และไม่ได้รับความ ช่วยเหลือจากแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ
2. องค์กรที่ปฏิบัติงานด้านเด็ก ประกอบด้วย
2.1 หน่วยงานภาครัฐ หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมี ฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และกิจการเพื่อ การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและครอบครัวอุปถัมภ์
2.2 องค์กรภาคเอกชน หมายถึง องค์กรที่บุคคลรวมกันขึ้นเพื่อด าเนินการตามวัตถุประสงค์ และกิจการในการสงเคราะห์ การคุ้มครองสวัสดิภาพ และการส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและ ครอบครัวอุปถัมภ์ประเภทรายการค่าใช้จ่ายที่ให้การสนับสนุน
(ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็ก เรื่อง หลักเกณฑ์การก าหนดวงเงินและรายการที่ให้การสนับสนุน จากกองทุนคุ้มครองเด็ก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550)
(1) รายบุคคล เช่น
1.1) ค่าเลี้ยงดู/ ค่าอุปโภคบริโภค / ค่าพาหนะ
1.2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษาสำหรับเด็ก (ระดับประถมศึกษา,
ระดับมัธยมศึกษา, ระดับอาชีวศึกษา )
1.3) ให้เงินทุนประกอบอาชีพ
1.4) ค่ารักษาพยาบาล / ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกายอุปกรณ์แก่เด็กพิการ
1.5) ค่าใช้จ่ายในการส่งตัวเด็กไป 5 สถาน/ ค่าดำเนินงานของผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
1.6) ค่าตรวจ DNA ส าหรับเด็กไร้สถานะบุคคล
(2) รายโครงการ เช่น
2.1) เป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด หรือท้องถิ่น
2.2) เป็นโครงการที่เกิดการบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงาน ในภาพรวมของจังหวัด (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน)
2.3) เป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาในพื้นที่ ,หรือสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือจัดทำโครงการตามข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น งานวิจัย, สรุปสภาวการณ์ ปัญหาของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ (สาธารณสุข, แรงงานจังหวัด ฯลฯ)
2.4) เป็นโครงการที่เกิดจากความต้องการของชุมชน (ต้องแสดงให้เห็นถึงการระดมความคิดเห็น เช่น การจัดเวทีประชาคม, เปิดเวทีระดมความคิดเห็นในระดับพื้นที่/ชุมชน เป็นต้น)
2.5) เป็นโครงการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็ก, พัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่
2.6) เป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพครอบครัวให้สามารถดูแลบุตรการยื่นเรื่องขอรับการสนับสนุน สามารถยื่นได้ ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งเด็กมีภูมิลำเนาหรือ ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ในกรณีเด็กมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร