กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

รูปแบบการให้บิการ

         1.การให้บริการกู้ยืมเงิน  เป็นการบริการคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการ เพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพหรือขยายกิจการ รายบุคคลรายละไม่เกิน 60,000 บาท รายกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท ผ่อนชำระภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ทั้งนี้ หากมีผู้ประสงค์จะกู้ยืมเงินเกินกว่าวงเงินที่กำหนด ให้มีการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป โดยไม่เกิน 120,000 บาท

         2. การสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ  เป็นตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจัดทำรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2552

         3.ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ  เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คนพิการมีงานทำ มีรายได้เพียงพอสำหรับการดำรงชีพ ลดภาระของสังคม และพัฒนาให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ของความเป็นมนุษย์

ดาวน์โหลดเอกสาร


Share:



กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม (กสจ.)

หลักเกณฑ์การเสนอโครงการ

  1. วัตถุประสงค์ขององค์กรที่เสนอคืออะไร โครงการที่เสนอต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร
  2. ความเชื่อมโยงระหว่างโครงการกับยุทธศาสตร์สังคมระดับต่าง ๆ ผลสำเร็จของโครงการสามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์
  3. วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย กิจกรรม และวิธีการดำเนินโครงการ ผลผลิตสอดคล้องกันหรือไม่
  4. ความร่วมมือและบทบาทของภาคีเครือข่าย เช่น อปท. องค์กรของรัฐ หน่วยงานในพื้นที่
  5. ความสัมพันธ์กับโครงการอื่น หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อน
  6. ผลผลิต ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดโครงการ สามารถเกิดขึ้นจริง
  7. มีตัวชี้วัดที่จะบ่งบอกถึงความสัมฤทธิ์ของโครงสร้าง
  8. ลักษณะโครงการแสดงให้เห็นถึงความยั่งยืน ความต่อเนื่องหรือมีกลไกที่ขยายผลต่อไปได้
  9. ศักยภาพและแผนการบริหารจัดการมีความสมเหตุสมผล
  10. การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องโครงการ ทั้งกลุ่มที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จ ของโครงการหรือกลุ่มที่อาจจะได้รับผลกระทบจากโครงการ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารบุคคลเหล่านี้
  11. งบประมาณของโครงการ ควรแยกตามหมวดหมู่ค่าใช้จ่าย มีความสมเหตุสมผลและคุ้มประโยชน์
  12. ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ควรระบุช่วงเวลาการทำงานในโครงการที่ชัดเจน วันเริ่มต้น วันสิ้นสุด และระยะเวลาในแต่ละกิจกรรม
  13. มีรูปแบบ วิธีการประเมินผลที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
  14. 14.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สมทบงบประมาณหรือวัสดุอุปกรณ์ ตามความหมาะสม
  15. ไม่เป็นโครงการที่เป็นงานประจำของหน่วยงาน
  16. เป็นโครงการที่มีงบประมาณสมทบจากองค์กร
  17. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการชุมชนแก่สมาชิก
  18. เป็นโครงการที่มีนวัตกรรม

ผู้มีสิทธิขอรับการสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม

  1. องค์กรสาธารณประโยชน์ ได้แก่ มูลนิธิ สมาคม หรือองค์กรเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคม และได้รับการจดทะเบียนรับรองเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์
  2. องค์กรสวัสดิการชุมชน ได้แก่ องค์กรภาคประชาชนที่จัดตั้งขึ้นโดยวัตถุประสงค์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้แก่มาชิกในชุมชน หรือปฏิบัติงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมของเครือข่ายองค์กรสวัสดิการชุมชน
  3. หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรัฐวิสาหกิจ

 

 

เอกสารดาวน์โหลด


Share:



กองทุนคุ้มครองเด็ก

กองทุนคุ้มครองเด็ก จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ เป็นทุนใช้จ่ายในการสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและ ครอบครัวอุปถัมภ์ของเด็กโดยมีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร/จังหวัด มีอำนาจหน้าที่ บริหารกองทุนคุ้มครองเด็กในจังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบประกาศและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง พิจารณาและอนุมัติจ่ายเงินเพื่อการสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัว ครอบครัวอุปถัมภ์ของเด็กในกรณีคำขอเป็นรายบุคคล และคำสั่งศาลซึ่งเป็นไปตามระเบียบ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติ ว่าด้วย การบริหารกองทุน การพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน และรายงาน สถานะการเงิน และการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2548 รวมทั้งพิจารณและอนุมัติจ่ายเงินเพื่อสนับสนุน โครงการของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรภาคเอกชนที่ขอรับเงินสนับสนุนไม่เกินโครงการละ150,000 บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) ทั้งนี้เป็นไปตามมติคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2553 เห็นชอบให้ขยายกรอบวงเงินโครงการเพิ่ม จากเดิมจังหวัดละ 200,000 บาท เป็นจังหวัดละ 300,000 บาท โดยกำหนดให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการระดับจังหวัด มีอ านาจกลั่นกรอโครงการไม่เกินโครงการละ 150,000 บาท และพิจารณาอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการที่ได้รับการอนุมัติ จากกองทุนคุ้มครองเด็กแล้ว รวมทั้งรายงานสถานะการเงินและการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กในจังหวัดให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็กกรุงเทพมหานคร/จังหวัดและคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็กเพื่อทราบหรือพิจารณาในทุกสองเดือน

กลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน
1. บุคคลเป้าหมาย แบ่งได้ดังนี้
1.1 เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะ
ด้วยการสมรส ประกอบด้วย
ก. เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์ (มาตรา 32) ได้แก่
1) เด็กเร่ร่อนหรือเด็กกำพร้า
2) เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลง ณ ที่ใดที่หนึ่ง
3) เด็กที่ผู้ปกครองไม่สามารถอุปการะเลี้ยงดูได้ด้วยเหตุผลใด ๆ เช่น ถูกจำคุก กักขัง พิการ ทุพพลภาพ เจ็บป่วยเรื้อรัง ยากจน เป็นผู้เยาว์ หย่า ถูกทิ้งร้าง เป็นโรคจิต หรือโรคประสาท
4) เด็กที่ผู้ปกครองมีพฤติกรรมหรือประกอบอาชีพไม่เหมาะสมอันอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางร่างกายหรือจิตใจของเด็กที่อยู่ในความปกครองดูแล
5) เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูโดยมิชอบ ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำหรือแสวงหา ประโยชน์โดยมิชอบ ถูกทารุณกรรมหรือตกอยู่ในภาวะอื่นใดอันอาจเป็นเหตุให้เด็กมีความประพฤติเสื่อมเสีย ในทางศีลธรรมอันดี หรือเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
6) เด็กพิการ
7) เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
8) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการสงเคราะห์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข. เด็กที่พึงได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ (มาตรา 40) ได้แก่
1) เด็กที่ถูกทารุณกรรม
2) เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
3) เด็กที่อยู่ในสภาพที่จำต้องได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง 

ค. นักเรียน นักศึกษาที่พึงได้รับการส่งเสริมความประพฤติที่เหมาะสม
1.2 ครอบครัว หรือครอบครัวอุปถัมภ์ หมายถึง ผู้ซึ่งให้การอุปการะเลี้ยงดูเด็กที่ประสบ
ปัญหาความเดือดร้อนด้านค่าใช้จ่ายในการสงเคราะห์และหรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก และไม่ได้รับความ ช่วยเหลือจากแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ

2. องค์กรที่ปฏิบัติงานด้านเด็ก ประกอบด้วย
2.1 หน่วยงานภาครัฐ หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมี ฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์และกิจการเพื่อ การสงเคราะห์ คุ้มครองสวัสดิภาพ และส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและครอบครัวอุปถัมภ์

2.2 องค์กรภาคเอกชน หมายถึง องค์กรที่บุคคลรวมกันขึ้นเพื่อด าเนินการตามวัตถุประสงค์ และกิจการในการสงเคราะห์ การคุ้มครองสวัสดิภาพ และการส่งเสริมความประพฤติเด็ก รวมทั้งครอบครัวและ ครอบครัวอุปถัมภ์ประเภทรายการค่าใช้จ่ายที่ให้การสนับสนุน
(ตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนคุ้มครองเด็ก เรื่อง หลักเกณฑ์การก าหนดวงเงินและรายการที่ให้การสนับสนุน จากกองทุนคุ้มครองเด็ก เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2550)
(1) รายบุคคล เช่น
1.1) ค่าเลี้ยงดู/ ค่าอุปโภคบริโภค / ค่าพาหนะ
1.2) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาและอุปกรณ์การศึกษาสำหรับเด็ก (ระดับประถมศึกษา,
ระดับมัธยมศึกษา, ระดับอาชีวศึกษา )
1.3) ให้เงินทุนประกอบอาชีพ
1.4) ค่ารักษาพยาบาล / ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับกายอุปกรณ์แก่เด็กพิการ
1.5) ค่าใช้จ่ายในการส่งตัวเด็กไป 5 สถาน/ ค่าดำเนินงานของผู้คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก
1.6) ค่าตรวจ DNA ส าหรับเด็กไร้สถานะบุคคล
(2) รายโครงการ เช่น
2.1) เป็นโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์จังหวัด หรือท้องถิ่น
2.2) เป็นโครงการที่เกิดการบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงาน ในภาพรวมของจังหวัด (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน)
2.3) เป็นโครงการที่แก้ไขปัญหาในพื้นที่ ,หรือสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือจัดทำโครงการตามข้อมูลที่ได้จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น งานวิจัย, สรุปสภาวการณ์ ปัญหาของหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ (สาธารณสุข, แรงงานจังหวัด ฯลฯ)
2.4) เป็นโครงการที่เกิดจากความต้องการของชุมชน (ต้องแสดงให้เห็นถึงการระดมความคิดเห็น เช่น การจัดเวทีประชาคม, เปิดเวทีระดมความคิดเห็นในระดับพื้นที่/ชุมชน เป็นต้น)
2.5) เป็นโครงการพัฒนาระบบคุ้มครองเด็ก, พัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนในพื้นที่
2.6) เป็นโครงการส่งเสริมศักยภาพครอบครัวให้สามารถดูแลบุตรการยื่นเรื่องขอรับการสนับสนุน สามารถยื่นได้ ณ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ซึ่งเด็กมีภูมิลำเนาหรือ ถิ่นที่อยู่ หรือสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ในกรณีเด็กมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานคร

เอกสารดาวน์โหลด


Share:



กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 โดย มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายสำหรับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยจะให้การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ และให้การสนับสนุนโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนด้านการป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การให้การสนับสนุนของกองทุน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

รายบุคคลให้การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์

  1. คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์ขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนคือ เป็นผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ โดยกองทุนสามารถให้ความช่วยเหลือได้ ในกรณีดังต่อไปนี้
    – การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
    – การคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์
    – การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ในต่างประเทศให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรหรือถิ่นที่อยู่
  2. การยื่นขอรับความช่วยเหลือ
     – ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นที่สำนักป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
    – ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในเขตจังหวัดใด ให้ยื่นที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนั้น
  3. หลักฐานประกอบการยื่นขอรับความช่วยเหลือ
    – คำขอรับความช่วยเหลือตามแบบฟอร์มที่กำหนด (แนบท้ายประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์)
    – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้านในเขตจังหวัดที่ขอรับการช่วยเหลือ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
    – หลักฐานประกอบอื่น ๆ เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
  4. ประเภทรายการที่สามารถให้ความช่วยเหลือ ประกอบด้วย
    – ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ
    – ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล รวมถึงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าพาหนะ ค่าอาหารระหว่างติดต่อรักษาพยาบาล
    – ค่าใช้จ่ายในการบำบัดฟื้นฟูทางร่างกายและจิตใจ
    – ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
    – ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค
    – ค่าใช้จ่ายในการจัดหาที่พัก
    – ค่าใช้จ่ายในการศึกษาหรือฝึกอบรม
    – ค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายหรือการดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน หรือตามคำสั่งศาล
    – ค่าใช้จ่ายในการส่งกลับไปยังประเทศเดิมหรือภูมิลำเนาของผู้เสียหาย
    – ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้เสียหายในต่างประเทศให้เดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักร หรือถิ่นที่อยู่
    – ค่าใช้จ่ายในกรณีอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนอนุมัติเป็นการเฉพาะราย

***รายละเอียดเพิ่มเติมตามประกาศคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุมัติการใช้เงินและทรัพย์สินของกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการ ค้ามนุษย์ ประกาศ ณ วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รายโครงการสนับสนุนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของหน่วยงานภาครัฐหรือองค์กรเอกชน

       1. คุณสมบัติของหน่วยงาน/องค์กรที่ขอรับเงินสนับสนุน

            – หน่วยงานภาครัฐ หมายถึง กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีฐานะเป็นกรม หรือเทียบเท่ากรม หรือเทียบเท่ากอง/สำนัก ราชการส่วนภูมิภาค หน่วยงานส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค สถานีตำรวจ โรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาของรัฐ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการ ค้ามนุษย์
            – องค์กรเอกชน หมายถึง องค์กรที่บุคคลรวมกันขึ้นและได้จดทะเบียนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 *

(*องค์กรที่จะเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากกกองทุน จะต้องดำเนินการจดทะเบียนองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ก่อน โดยรายละเอียดการยื่นคำขอจดทะเบียน จะเป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ว่าด้วยการจดทะเบียนองค์กรเอกชนด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2552)

        2 การเสนอโครงการ
ให้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรเอกชนจัดทำรายละเอียดโครงการตามแบบการเสนอโครงการขอรับเงินกองทุน เพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประจำปี…. (แบบ กปค.01) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ
      ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
      ส่วนที่ 2 รายละเอียดข้อมูลโครงการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุน (แยกตามรายโครงการ) โดยจะต้องจัดทำข้อมูลโครงการให้มีรายละเอียดที่ชัดเจน พร้อมทั้งแนบเอกสารตามที่กำหนดไว้ในแบบฟอร์มให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาโครงการ

อนึ่ง สำหรับระยะเวลาการรับโครงการ กองทุนจะเปิดรับตลอดปี

  1. การกำหนดกรอบวงเงินโครงการ

       –  วงเงินที่ต่ำกว่า 50,000 บาท หมายถึง โครงการขนาดเล็ก

       – วงเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 300,000 บาท หมายถึง โครงการขนาดกลาง

       – วงเงินที่เกิน 300,000 บาทขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท หมายถึง โครงการขนาดใหญ่

ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อการดำเนินโครงการ ซึ่งมีวงเงินเกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป ให้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์พิจารณาเป็นรายกรณีไป

      4. การพิจารณาโครงการ
กรณีเป็นหน่วยงานภาครัฐ ต้องเป็นโครงการที่ริเริ่มใหม่ หรือเป็นโครงการที่ไม่สามารถขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณปกติได้ หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ กรณีเป็นองค์กรเอกชน ต้องเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานมาแล้ว ซึ่งมีทุนอยู่บางส่วน หรือเป็นโครงการริเริ่มใหม่ ทั้งนี้

      5. โครงการนั้นต้องไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนราชการหรือแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอสำหรับลักษณะโครงการที่จะได้รับการสนับสนุน ได้แก่ โครงการลักษณะดังต่อไปนี้

       – โครงการที่ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน

       – โครงการพัฒนาระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหาย

       – โครงการที่ดำเนินงานทางกฎหมายและการปราบปราม

       – โครงการฟื้นฟูเยียวยาและการคืนสู่สังคม

       – โครงการจัดทำและพัฒนาระบบข้อมูล การติดตามและการประเมินผล

       – โครงการพัฒนากลไกการบริหารงานและการจัดการในด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

       – โครงการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ

       – โครงการอื่นตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์กำหนด

ทั้งนี้ ลักษณะโครงการจะต้องมีวัตถุประสงค์และกระบวนการในการดำเนินงานชัดเจน มีผลต่อการแก้ไขปัญหาการช่วยเหลือ หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย หรือการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ รวมทั้งเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของบุคคล หรือหน่วยงาน หรือประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา การช่วยเหลือ หรือการคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหาย หรือการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

  1. การยื่นขอรับการสนับสนุน
  • กรณีองค์กรที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ประสงค์จะดำเนินโครงการในเขตกรุงเทพฯ ให้ยื่นที่กองบริหารกองทุน สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • กรณีองค์กรที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ประสงค์จะดำเนินโครงการในจังหวัดใด ให้ยื่นต่อสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนั้น ๆ เพื่อพิจารณาในเบื้องต้นก่อนนำส่งสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial